ในการสร้างบันไดบ้าน มีกฎหมายและมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บันได ในบทความนี้ เราจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับ "ลูกตั้งบันได" และ "ลูกนอนบันได" รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คุณได้ระยะที่มีมาตรฐานมากที่สุด
ลูกตั้งบันไดและลูกนอนบันไดคืออะไร?
- ลูกตั้งบันได (Stair Riser) : ส่วนของบันไดที่ตั้งฉากกับพื้น ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของผู้ใช้งาน
- ลูกนอนบันได (Tread) : ส่วนประกอบของบันไดที่ขนานกับพื้น ทำหน้าที่เป็นพื้นผิวให้ผู้อยู่อาศัยก้าวขึ้นหรือลงอย่างปลอดภัย
กฎหมายควบคุมลูกตั้งบันได-ลูกนอนบันไดและชานพัก
การออกแบบลูกตั้งบันได-ลูกนอนบันไดและชานพักมีผลต่อความปลอดภัยและความสะดวกในการเดินขึ้นลง โดยมีกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 23 ดังนี้ :
1. บันไดบ้านต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม.
2. หากบันไดมีความสูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพัก โดยขนาดความกว้างและยาวต้องไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
3. ลูกตั้งบันไดต้องสูงไม่เกิน 20 ซม. และลูกนอนบันไดต้องกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.
4. พื้นบริเวณหน้าบันไดต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
5. ระยะดิ่งจากขั้นบันไดหรือชานพักถึงส่วนต่ำสุดต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร
ลูกตั้งบันไดและลูกนอนบันไดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของบันได มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานและความสวยงามของบันได ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 23 ที่ระบุถึงการควบคุมระยะของลูกนอน-ลูกตั้งบันไดและชานพักเพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
นอกจากนี้ ลิฟท์บ้านยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้บ้านคุณ โดยเฉพาะในกรณีที่สมาชิกในบ้านใช้รถเข็นวีลแชร์ เตียงขนาดเล็ก มีรถเข็นเด็ก หรืออุปกรณ์ที่ต้องขนย้ายขึ้นชั้นบนของบ้าน หรือแม้แต่เมื่อมีอาการบาดเจ็บที่ขาจนไม่สะดวกในการขึ้น-ลงบันไดเพียงลำพังจนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อนขึ้นได้ ลิฟท์บ้านจึงถือเป็นตัวช่วยที่ดีอีกทางหนึ่ง เพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถใช้ชีวิตประจำวันในบ้านได้อย่างปกติ ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอุบัติเหตุจากการใช้บันได ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุเท่าไร